ขั้นที่ 1: จัดเตรียมวัตถุดิบในการผลิต

การคัดเลือกและตรวจรับวัตถุดิบ

การสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทุกครั้ง โดยเฉพาะวัตถุดิบประเภทไม้ ฝ่ายจัดซื้อต้องแจ้งขนาดและกำหนดคุณภาพของไม้ที่ต้องการให้กับทางผู้ขายไม้ทราบ วัตถุดิบที่ใช้ที่ใช้ในงานผลิตต้องมีลักษณะดังนี้

ลักษณะวัตถุดิบประเภทไม้
ลักษณะวัตถุดิบประเภทอื่น
ขั้นตอนการตรวจรับวัตถุดิบ
  1. เมื่อผู้ขายไม้ได้ส่งไม้ขึ้นมาแล้วทางฝ่ายรับวัตถุดิบต้องตรวจเช็คไม้เข้าให้ได้ตรงตามขนาด โดยจะทำการตรวจสอบ ขนาดของไม้ หนา กว้าง ยาว และนับจำนวน หากพบว่าไม่ตรงตามที่ต้องการให้คัดออกไว้ต่างหาก และจดจำนวนแจ้งทางสำนักงานโดยบันทึกลงในแบบฟอร์ม ใบตรวจรับไม้/เที่ยว
  2. บันทึกข้อมูลลงในสมุดรับไม้ดิบทั้งหมดและสรุปรายการรับไม้ดิบ ทำการติดใบกำกับไม้แยกผู้ส่งเพื่อจะได้ตรวจเช็คได้ว่าไม้ดิบกองนี้เป็นของใคร
  3. ทางสำนักงานทำเอกสารบันทึกการตรวจรับไม้ ใบรับวัตถุดิบ ในกรณีที่ไม้เสียให้แจ้งจำนวนทางผู้ขายและดำเนินการส่งคืน
  4. นำไม้ดิบที่ได้มาตัดให้มีขนาดพอประมาณเพื่อนำมาตรวจสอบการอัดน้ำยาของผู้ขายว่ามีการอัดน้ำยามาเพียงพอต่อการป้องกันแมลงกินเนื้อไม้หรือไม่ หากไม่ผ่านการทดสอบให้แจ้งทางผู้ขายไม้ทันทีพร้อมทั้งส่งไม้คืนทั้งหมด

การตรวจสอบความเข้มข้นของน้ำยาในเนื้อไม้ยางพาราอัดอบ

ตามมาตรฐาน มอก. ได้กำหนดเอาไว้ว่าเนื้อไม้ที่มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันมอด แมลง ไม่ให้ทำลายเนื้อไม้นั้น ต้องมีความเข้มข้นของน้ำยาโบรอนในเนื้อไม้ไม่น้อยไปกว่าร้อยละ 0.2 ซึ่งตามปกติแล้วไม้ยางพาราที่ผ่านการอัดอบด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้ จะมีสารประกอบธาตุโบรอนคงค้างอยู่ในเนื้อไม้ หากสารโบรอนมีปริมาณความเข้มข้นที่เพียงพอ ก็จะสามารถรักษาเนื้อไม้ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น

การตรวจสอบการซึมซับของน้ำยาขั้นต้นโดยการใช้น้ำยาทดสอบ Circumin Reagent **ตรวจสอบทุกครั้งที่มีการรับเข้าวัตถุดิบไม้ดิบ**

การใช้น้ำยาทดสอบ Circumin Reagent เป็นการตรวจสอบการแทรกซึมของ สารประกอบโบรอน ที่มีอยู่ในเนื้อไม้ วิธีนี้สามารถกระท้าได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ตัดชิ้นไม้ตัวอย่างออกมา เช็ดผิวพื้นที่หน้าตัดนั้นให้สะอาด
  2. หยดน้ายาทดสอบ Circumin Reagent ลงพื้นที่หน้าตัดนั้น ทิ้งไว้ให้แห้งสักพัก จะเกิดปฏิกิริยาเกิดการเปลี่ยนสี โดยจะเกิด สีแดง สีส้ม และสีเหลือง

น้ำยาทดสอบ Circumin Reagent มีลักษณะเป็นของเหลว ใส สีเหลือง ใช้สำหรับตรวจสอบการแทรกซึมของสารประกอบของโบรอน (SAFEBOR, SAFEBOR GOLD และ C.C.BOR) ที่มีอยู่ในเนื้อไม้ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ กรดไฮโดรคลอริคเข้มข้น (ความถ่วงจำเพาะ 1.18 กรัม/ซี.ซี.) จำนวน 10 ซี.ซี., อีทานอลจำนวน 90 ซี.ซี., สารเคมี Circumin จำนวน 0.25 กรัม และกรด Salicylic acid จำนวน 10 กรัม ขนาดบรรจุภัณฑ์ บรรจุขวดละ 15 มิลลิลิตร

ขั้นที่ 2: เตรียมการประกอบชิ้นงาน

การเตรียมไม้เตรียมประกอบ

  1. ก่อนนำไม้ดิบมาแปรสภาพเป็นไม้เตรียมประกอบ ต้องตั้งขนาดใบมีดและใบเลื่อยของเครื่องรีด-ตัด ให้ตรงกับขนาดไม้ที่ทางลูกค้าต้องการ และมีการตรวจเช็คขนาดของใบมีดและใบเลื่อยทุกชั่วโมงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน
  2. จัดไม้ดิบเข้าเครื่องรีด-ตัด เมื่อได้ไม้เตรียมประกอบออกมาแล้ว พนักงานเตรียมประกอบจะตรวจเช็คลักษณะไม้ที่ได้อีกครั้ง หากไม้มีแผลใหญ่, รอยผุ, ติดเปลือกจำนวนมาก, หรือมีแมลง จะถูกคัดออกทันที ส่วนไม้ที่ได้คุณภาพจะถูกจัดเก็บเข้าคลังไม้เตรียมประกอบ

    คุณสมบัติไม้เตรียมประกอบ
    • ไม้ได้ขนาดตรงตามที่ลูกค้ากำหนด
    • ไม้ต้องไม่มีเชื้อรา มอด ในเนื้อไม้
    • ไม้ต้องมีลักษณะตรง หรือไม่โกงงอ ไม่ผุและเป็นรูไม้สีดำ
    • ไม้ต้องถูกไสให้เรียบ มีเสี้ยนไม้ได้บ้าง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของแผ่นไม้
    • ไม้ต้องไม่มีรอยผุ หรือมีได้แต่ไม่เกิน 10% ของไม้เนื้อทั้งหมด และต้องไม่มีผลต่อความแข็งแรงของลังไม้สำเร็จรูป
    • ไม้ต้องไม่มีรูดำ ถ้ามีต้องไม่ใหญ่เกิน 1.5 ซม. และต้องไม่มีผลต่อความแข็งแรงของลังไม้สำเร็จรูป

ขั้นที่ 3: ประกอบขึ้นรูปชิ้นงาน

ขั้นตอนการประกอบ

  1. นำไม้เตรียมประกอบจัดเข้าโต๊ะประกอบ
  2. พนักงานประกอบตรวจเช็คคุณสมบัติไม้ที่ได้
  3. นำไม้ที่ได้ประกอบเป็นชิ้นงานโดยใช้มาตรฐานของชิ้นงานเป็นตัวกำหนด ขณะประกอบหากไม้แตก จะต้องรื้อออกเพื่อเปลี่ยนไม้แผ่นใหม่ทันที
  4. ทางหัวหน้างานประกอบต้องคอยควบคุมการทำงานของพนักงานอย่างใกล้ชิดและตรวจสอบคุณภาพของงานในขั้นต้น หากพบว่ามีการประกอบผิดหรือไม่ได้มาตรฐานให้คัดออกเพื่อนำไปแก้ไข
  5. จัดส่งงานที่ได้คุณภาพเข้าแผนกเก็บงานสินค้าสำเร็จรูป เมื่อประกอบเรียบร้อยแล้ว ผลิตภัณฑ์ต้องมีลักษณะดังนี้

    • ชิ้นงานได้ขนาด และสเปคที่กำหนด
    • ไม้ใน 1 แผ่นสามารถมีตาไม้ได้ไม่เกิน 4 ตา และต้องเป็นตาที่ไม่ใหญ่ ไม่มีผลต่อความแข็งแรง
    • หัวตะปู แม็กซ์แนบสนิทกับเนื้อไม้ยิงจมลงในเนื้อไม้ไม่น้อยกว่า 1 ม.ม. ถ้ามีปลายโผล่ต้อง ตีพับเก็บ ให้เรียบร้อย
    • รอยต่อระหว่างไม้ที่ประกอบจะต้องสนิทกัน หรือห่างได้ไม่เกิน 1 มม.
  6. ทำการมัดสินค้าและทำความสะอาดสินค้าโดยการเป่าฝุ่นและเช็คจำนวนที่มัดให้ได้ตรงตามที่กำหนด

ขั้นที่ 4: เก็บงานส่งเข้าคลังสำเร็จรูป

ขั้นตอนการเก็บงาน

  1. นำชิ้นงานที่ประกอบสำเร็จแล้วมาตรวจสอบความถูกต้อง ให้ตรงกับมาตรฐานของลูกค้า
  2. ในการตรวจเช็คหากพบชิ้นงานที่ผิดพลาดให้แยกออกและส่งคืนแผนกประกอบ โดยระบุเหตุเสียของงาน เพื่อให้ฝ่ายประกอบดำเนินการแก้ไข และหากไม่แน่ใจหรือมีข้อสงสัยในชิ้นงานให้สอบถามทางหัวหน้างานทันที
  3. ชิ้นงานที่สมบูรณ์เป่าลมทำความสะอาด
  4. นำสินค้าที่ทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วเก็บเข้าคลังสำเร็จรูปเพื่อเตรียมอบความร้อนและจัดส่งให้ลูกค้า
  5. ก่อนการส่งสินค้าต้องนำสินค้าเข้าอบความร้อน เสร็จแล้วทำความสะอาดทำการแสตมป์ตราปะทับและจัดส่งให้ลูกค้า

ขั้นตอนการอบ

  1. ก่อนการนำสินค้าเข้าอบ ต้องเป่าฝุ่นและนำมาเรียงในห้องอบโดยการเรียงให้มีช่องว่างเพื่อให้ความร้อนสามารถเข้าถึงด้านล่าง
  2. นำเทอร์โมมิเตอร์มาวางตามจุดที่กำหนดไว้ เพื่อวัดอุณหภูมิ คือ ในส่วนด้านใน ด้านกลางด้านหน้า และด้านบนสุดของห้อง โดยเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในชิ้นไม้ที่เจาะรูไว้ให้ถึงแกนกลางของไม้
  3. ทำการปิดห้องอบที่บรรจุสินค้าไว้แล้วโดยจะต้องปิดให้สนิท เพื่อไม่ให้มีความร้อนออกมา
  4. เปิดสวิตซ์เตาอบ จดบันทึกการอบ ตั้งแต่เริ่มอบจนกระทั่งอุณหภูมิถึง 56 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นอบต่อเป็นเวลา 30 นาที จึงปิดสวิตซ์เตาอบ หลังจากนั้นประมาณ 30 นาที นำสินค้าออกจากห้องอบ
  5. ประทับตราสินค้า

ขั้นที่ 5: เตรียมการจัดส่ง

พนักงานจะทำความสะอาดสินค้าทุกชิ้น และสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าก่อนนำส่ง เพื่อป้องกันความเสียหาย และคลุมผ้าใบให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าได้รับความชื้น และรัดสายรัดให้แน่น พร้อมจัดส่งให้ลูกค้า

ที่อยู่ติดต่อ
บริษัท ทองคำบรรจง จำกัด
103/5 ซอยสุขาภิบาล 15 หมู่ที่ 1 ถ.สายเกาะโพธิ์-เกาะจันทร์ ต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี 20240
เบอร์โทร
(038)209475, (038)209670-1
แฟกซ์
038-209953
ที่อยู่อีเมล์
[email protected]